ไดแอค ( Diac )


ไดแอค ( Diac )






ไดแอก (Diac) หรือจะเรียกว่า ไดโอด-แอก (Diode - AC)  เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทไธริสเตอร์ เช่นเดียวกับ SCR และไตรแอก เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ถูกออกแบบให้มีการนำกระแสได้ 2 ทิศทางที่แรงดันค่าหนึ่ง โดยรูปแบบโครงสร้างจะเป็นสาร P-N-P 3 ชั้น 2 รอยต่อเช่นเดียวกับทรานซิสเตอร์ (Transistor) ดังแสดงในรูปที่ 1 แต่จะแตกต่างจากทรานซิสเตอร์ตรงที่ความเข้มในการโด๊ป ( Dope ) สารเป็นผลทำให้รอยต่อทั้งสองของไดแอกเหมือนกันจึงทำให้มีคุณสมบัติเป็นสวิตซ์ (Switch ) ได้ 2 ทาง ค่าแรงดัน (Voltage ) ที่จะทำให้ไดแอกเริ่มนำกระแสได้ อยู่ในช่วง 29-30 V. โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอกแสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก

โครงสร้างไดแอก (Diac) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำมี 3 ตอนใหญ่ชนิดสาร PNP และยังประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ตอนย่อยชนิด N ต่อร่วมในสารกึ่งตัวนำชนิด P ทั้ง 2 ตอนด้านนอก มีขาต่อออกมาใช้งานเพียง 2 ขา แต่ละขาที่ต่อใช้งานจะต่อร่วมกับสารกึ่งตัวนำทั้งชนิด N และชนิด P จึงทำให้ไดแอคสามารถทำงานได้ทั้งแรงดันไฟบวกและแรงดันไฟลบ ขาแอโนด 1 (A1) เรียกว่า ขาเทอมินอล 1 (Main Terminal 1) ใช้ตัวย่อ MT1 และขาแอโนด 2 (A2) เรียกว่า ขาเทอมินอล 2 (Main Terminal 2) ใช้ตัวย่อ MT2 แต่ละขาสามารถต่อสลับกันได้

สัญลักษณ์ของไดแอค ( Diac )


รูปที่ 2 โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก

การทำงานของไดแอค ( Diac )
      ไดแอคนำกระแสได้สองทิศทางโดยจะอาศัยช่วงแรงดันพังทลาย (Break Over Voltage) เป็นส่วนของการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ ป้อนแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A1 และแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A2



ลักษณะที่ 2 ป้อนแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A1 และแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A2


กราฟลักษณะสมบัติของไดแอก (Diac)




เงื่อนไขการนำกระแส และการหยุดนำกระแส
    1.  ไดแอคจะนำกระแสเมื่อได้รับแรงดันถึงจุดพังทลาย (Break Over Voltage ; UBR)
    2.  เมื่อไดแอคนำกระแสความต้านทานภายในไดแอคจะลดลงเนื่องจากรอยต่อ PN แคบลงทำให้แรงดันตกคร่อมไดแอคลดลง
    3.  ไดแอคจะหยุดนำกระแส เมื่อกระแสไหลผ่านไดแอค มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง (Holding Current ; IH)

ไดแอก ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นอุปกรณ์จำพวกตัวกระตุ้น (Trigger) นิยมนำไปใช้งานร่วมกับไตรแอกโดยต่อรวมกับขาเกตของไตรแอก ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์กระตุ้นการทำงาน

ความคิดเห็น