เพาเวอร์ไดโอด (Power Diode)
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ
(Semiconductor) ซึ่งสร้างขึ้นมาจากธาตุกึ่งตัวนําบริสุทธิ์จำพวกเจอร์เมเนียม (Ge)
หรือซิลิคอน (Si) และถูกเติมธาตุเจือปน (Dope)
ให้เป็นสารกึ่งตัวนำชนิด P (P-Type) และสารกึ่งตัวนำชนิด
n (N-Type) ภายในอัตราส่วน
ธาตุกึ่งตัวนำ 108 ส่วน ต่อธาตุเจือปน 1 ส่วน จากนั้นนำสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N มาต่อกันโดยวิธีการปลูกผลึก บริเวณรอยต่อ มีขาต่อมาใช้งาน 2 ขา ขาที่ต่อจากสารกึ่งตัวนำชนิด P เรียกว่า อาโนด (Anode,A)
ส่วนขาที่ต่อจากสารกึ่งตัวนำชนิด n เรียกว่าขาดแคโทด
(Cathode, K)
สัญลักษณ์ของไดโอด
ชนิดของเพาเวอร์ไดโอด
เพาเวอร์ไดโอดถูกผลิตขึ้นมาจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยการทำงานมีประสิทธิภาพสูงแบ่งออกได้หลายชนิดเช่น
- เพาเวอร์ไดโอดที่ใช้งานทั่วไป (General - purpose Diode)
- เพาเวอร์ไดโอดฟื้นตัวเร็ว (Fast recovery Diode)
- ช็อตกี้ไดโอด (Schottky Diode) เป็นต้น
เพาเวอร์ไดโอดได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวางเช่นใช้ในวงจรเรียงกระแส
rectifier Circuit วงจรทวีแรงดัน วงจรแยกแรงดัน วงจรแหล่งจ่ายไฟแบบ Switching เป็นต้น
คุณลักษณะทางอุดมคติของเพาเวอร์ไดโอดจะทำหน้าที่คล้ายสวิตช์ที่สามารถนำกระแสได้ทางเดียวเมื่อจ่ายแรงดันไบอัสตรง
(Forward Bias) และจะหยุดนำกระแสทันทีเมื่อจ่ายแรงดันไบอัสกลับ (Reverse Bias) แต่คุณลักษณะในทางปฏิบัติของพาวเวอร์ไดโอดนั้น เมื่อจ่ายแรงดันไบอัสตรง
ให้เพาเวอร์ไดโอด
เพาเวอร์ไดโอดจะยังไม่นำกระแสทันทีจนกว่าแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ไดโอดจะมีค่าเท่ากับแรงดันเทรสโฮลด์ (Threshold Voltage) ซึ่งค่า เทรสโฮลด์
ของไดโอดชนิดเจอมาเนี่ยม จะมีค่าประมาณ 0.2- 0.3 โวลท์
ส่วนไดโอดชนิดซิลิคอนจะมีค่าแรงดันเทรสโฮลด์ประมาณ 0.6 ถึง 0.7
โวลท์
การจ่ายแรงดันไบอัสให้เพาเวอร์ไดโอด
การนำไดโอดไปใช้งานจำเป็นต้องจ่ายแรงดันแรงดันไบอัสให้ตัวไดโอดเพื่อควบคุมการทำงานและการหยุดทำงานของตัวไดโอด
การไบอัสให้ตัวไดโอดทำได้ 2 วิธี
คือการจ่ายไบอัสตรง (Forward Bias)
และการจ่ายไบอัสกลับ
(Reverse Bias)
การจ่ายไบอัสตรง (Forward Bias)
ทำได้โดย
การจ่ายแรงดันไฟบวกให้กับสารกึ่งตัวนำชนิด P (P = Positive คือบวก)
และจ่ายแรงดันไฟลบ ให้สารกึ่งตัวนำชนิด N (N= Negative คือ ลบ) ดังรูป
เมื่อไดโอดได้รับไบอัสตรง โดยต่อไฟบวกเข้าที่ขา A (Anode) และต่อไฟลบเข้าที่ขา K (Cathode) ไดโอดจะสามารถนำกระแสได้
คือยอมให้มีกระแสไหลผ่านตัวมันได้เปรียบสเมือนสวิตช์ปิด
ซึ่งเมื่อไดโอดนำกระแสแล้วก็จะมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อไดโอดเท่ากับ 0.2-0.3 V
ในไดโอดชนิดเยอรมันเนี่ยม (Ge) และเท่ากับ 0.6-0.7
V ในไดโอดชนิดซิลิคอน (Si)
การไบอัสกลับ (Reverse
Bias)
เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับไดโอดแบบกลับขั้วคือจ่ายศักย์ไฟบวก
ให้สารชนิด N N (N= Negative) และจ่ายศักย์ไฟลบให้สารชนิด P (P = Positive) ดังรูป
เมื่อไดโอดได้รับใบอัสกลับ คือต่อไฟบวกเข้ากับขา K (Cathode) และต่อไปลบเข้ากับขา
A (Anode) ไดโอดจะไม่สามารถนำกระแสได้ คือไม่ยอมให้มีกระแสไหลผ่านตัวมันได้ เปรียบสเมือนสวิตช์เปิด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น